เมนู

แก่ตน ก็ข้าพเจ้าเหล่านั้นไปจากที่นี้ ได้กำเนิด
เป็นมนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล กระทำกุศลให้มากเป็นแน่.

จบ คณเปตวัตถุที่ 10

อรรถกถาคณเปตวัตถุที่ 10



เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภเปรตเป็นอันมาก จึงได้ตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
นคฺคา ทุพฺพณฺณรูปาตฺถ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มนุษย์เป็นอันมาก เป็นคณะ ไม่มี
ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส มีจิตถูกมลทินคือ ความตระหนี่กลุ้มรุม
เป็นผู้เบือนหน้าต่อสุจริต มีทานเป็นต้น มีชีวิตอยู่นาน เพราะกาย
แตกตายไป จึงบังเกิดในกำเนิดเปรต ใกล้พระนคร. ภายหลัง
วันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังเดินบิณฑบาตในกรุง
สาวัตถี เห็นพวกเปรตในระหว่างทาง จึงถามด้วยคาถาว่า :-
พวกท่านเปลือยกาย มีรูปร่างผิวพรรณ
น่าเกลียด ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
ผอมจนเห็นแต่ซี่โครงเช่นนี้ แน่ะท่านผูนิรทุกข์
พวกท่านเป็นใคร หนอ ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺณรูปาตฺถ ความว่า ท่าน
เป็นผู้มีร่างกายผิวพรรณน่าเกลียด. บทว่า เก นุ ตุมเหตฺถ ความว่า

พวกท่านเป็นใครหนอ. พระมหาโมคคัลลานะ เรียกเปรตเหล่านั้น
โดยสมควรแก่ตนว่า มาริสา.
เปรตได้ฟังดังนั้น จึงพากันประกาศความที่ตนเป็นเปรต
ด้วยคาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเปรต
เสวยทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะการทำกรรมชั่ว
ไว้ จึงจากมนุษยโลก ไปสู่เปตโลก ดังนี้

ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่เขาทำไว้อีก ด้วยคาถาว่า :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา
และใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร พวกท่านจึง
จากมนุษยโลก ไปสู่เปตโลก.

จึงได้กล่าวกรรมที่ตนทำด้วยคาถาว่า :-
เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เป็นที่พึ่ง
อันหาโทษมิได้มีอยู่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มิได้ก่อ
สร้างกุศลไว้ แม้เพียงกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรม
มีอยู่ ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน พวกข้าพเจ้าหิวน้ำ
จึงเข้าไปใกล้แม่น้ำ แม่น้ำกลับกลายเป็นว่างเปล่า
ไป เมื่อเวลาร้อน พวกข้าพเจ้าเข้าไปสู่ร่มไม้
ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดแผดเผาไป และลมมี
ดังไฟแผดเผาพวกข้าพเจ้า ฟุ้งไป ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าควรจะเสวยทุกข์ อันมีความ

กระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์อย่างอื่น อันชั่วช้า
กว่าทุกข์นั้น อนึ่งพวกข้าพเจ้า เป็นผู้ถูกความ
หิวแผดเผาแล้ว อยากอาหาร พากันไปสิ้นทาง
หลายโยชน์ ก็ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย จึงพา
กันกลับมา พวกข้าพเจ้านี้หาบุญมิได้หนอ เมื่อ
มีความหิวโหยอิดโรยมากขึ้น ก็พากันล้มสลบ
ลงที่พื้นดิน บางคราวก็ล้มนอนหงาย บางคราว
ก็ล้มคว่ำ ดิ้นรนไปมา ก็พวกข้าพเจ้านั้นสลบ
อยู่ที่พื้นดิน ตรงที่ล้มอยู่นั่นเอง เอาศีรษะชน
หน้าอกกันและกัน พวกข้าพเจ้านี้ ทาบุญมิได้
หนอ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าควรที่จะ
เสวยทุกข์ มีความกระหายเช่นต้นนี้ และทุกข์
อย่างอื่น อันชั่วช้ากว่าทุกข์นั้น เพราะเมื่อไทย
ธรรมมีอยู่ พวกข้าพเจ้า ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน
ก็พวกข้าพเจ้านั้น ไปจากที่นี้ ได้กำเนิดเป็นมนุษย์
จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ ของผู้ขอ เป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยศีล จักทำกุศลให้มากแน่ ๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ โยชนานิ คจฺฉาม ความว่า
ข้าพเจ้าไปได้หลายโยชน์. อย่างไร ? คือเป็นผู้หิวอยากกินอาหาร.
อธิบายว่า พวกข้าพเจ้า ถูกความหิวครอบงำมานาน อยากกิน คือ
อยากลิ้มอาหาร แม้ครั้นไปอย่างนี้ ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย ก็พา

กันกลับมา. บทว่า อปฺปปุญฺญตา ได้แก่ พวกข้าพเจ้า ไม่มีบุญ
คือ ไม่ได้ทำคุณงามความดีไว้.
บทว่า อุตฺตานา ปฏิกิราม ความว่า บางคราวเป็นผู้นอนหงาย
เป็นไปเหมือนอวัยวะน้อยใหญ่กระจัดกระจายไป. บทว่า อวกุชฺชา
ปตามเส
ความว่า บางคราวก็นอนควํ่าตกลงไป.
บทว่า เต จ ได้แก่ พวกข้าพเจ้านั้น. บทว่า อุรํ สีลญฺจ ฆฏฺเฏม
ความว่า นอนคว่ำตกลงไป เมื่อไม่อาจจะลุกขึ้นได้ สั่นงันงกอยู่
ประสบเวทนา เอาอกและศีรษะเสียดสีกัน. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าว
แล้วในหนหลัง นั้นแล.
พระเถระกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรม
แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. มหาชนฟังธรรมนั้นแล้ว ละมลทิน คือ
ความตระหนี่ ได้เป็นผู้ยินดีสุจริต มีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาคณเปตวัตถุที่ 10

11. ปาฏลีปุตตเปตวัตถุ



เวมานิกเปรตตนหนึ่งได้กล่าวกะหญิงมนุษย์คนหนึ่งว่า :-
[131] สัตว์นรกบางพวกท่านก็เห็นแล้ว สัตว์
เดียรัจฉาน เปรต อสูร มนุษย์ หรือเทวดาบาง
พวกท่านก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตนท่านก็เห็น
ประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว เราจักน้ำท่านไปส่งยัง
เมืองปาฏลีบุตร ท่านไปถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว
จงทำกรรมอันเป็นกุศลให้มาก.

เมื่อหญิงนั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว มีความปลื้มใจ จึงกล่าวตอบ
ว่า :-
ข้าแต่เทพเจ้าผู้อันบุคคลพึงบูชา ท่าน
ปรารถนาความเจริญแก่ดิฉัน ปรารถนาประโยชน์
เกื้อกูลแก่ดิฉัน ดิฉันจักทำตามคำของท่าน ท่าน
เป็นอาจารย์ของดิฉัน สัตว์นรกบางพวก ดิฉัน
ก็เห็นแล้ว สัตว์เดียรัจฉาน เปรต อสูร มนุษย์
หรือเทวดาบางพวกดิฉันก็เห็นแล้ว ผลกรรมของ
ตนดิฉันก็ได้เห็นเองแล้ว ดิฉันจักทำบุญให้มาก.

จบ ปาฏลีปุตตเปตวัตถุที่ 11